นักดาราศาสตร์ศึกษาถึงที่มาของฝนดาวตก หรือฝนอุกกาบาต พบว่าอุกกาบาต เหล่านี้ ต่างโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ ในเส้นทางเดียวกับดาวหาง บางดวง และได้ข้อสรุป ชัดเจนว่า ฝนดาวตกมีความสัมพันธ์ กับดาวหาง
ดาวหางเป็นวัตถุท้องฟ้าอย่างหนึ่ง คล้ายก้อนน้ำแข็งสกปรกของหินและฝุ่น เกาะกันอยู่ ด้วยก๊าซและน้ำที่แข็งตัว เมื่อดาวหางเคลื่อนเข้าใกล้ ดวงอาทิตย์มากขึ้น ความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้ น้ำแข็งรอบนอกระเหิดออก ปล่อยซากเศษชิ้นส่วนเล็ก ๆ กระจายเป็นธารอุกกาบาตเคลื่อนที่ ไปตามเส้นทางโคจรของดาวหาง เมื่อโลกเคลื่อนที่ ผ่านธารอุกกาบาตเหล่านี้ จึงดูดเศษหินและเศษโลหะเหล่านั้น ให้วิ่งเข้ามาในเขต บรรยากาศโลก ด้วยความเร็วสูง ความร้อนจากการเสียดสีกับบรรยากาศ เกิดเป็นลูกไฟ สว่าง เรียกว่า ฝนดาวตก
ฝนดาวตกเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่แน่นอน บางปีเราอาจเห็นฝนดาวตกชุดหนึ่ง มีจำนวนดาวตก มากมายเห็นได้ชัดเจน แต่อาจเบาบางในอีกปีหนึ่ง เพราะสาเหตุหลาย อย่าง แต่ที่สำคัญคือ โลกเคลื่อนที่ ตัดกับวงทางโคจรของดาวหาง เป็นระยะใกล้ไกล มากเพียงใดในปีนั้น และเพราะซากเศษดาวหาง หลุดออกมาเป็นกลุ่ม ๆ ถ้ามีจำนวนมาก แล้วโลก เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มซากอุกกาบาตนั้นในปีใด ก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตก หนาแน่นมากเป็นพิเศษ เรียกว่าพายุฝนดาวตก
ดาวหางเทมเพล - ทัดเทิล กับฝนดาวตกลีโอนิดส์
ดาวหางเทมเพล - ทัดเทิล กับฝนดาวตกลีโอนิดส์
ดาวหางเทมเพล - ทัดเทิล ค้นพบโดย วิลเฮล์ม เทมเพล และฮอแรส ทัดเทิล ในปี พ.ศ.2408 เป็นดาวหางคาบ สั้น โคจรรอบดวงอาทิตย์ในคาบ 33.2 ปี วงโคจรรูปวงรี ระยะใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด อยู่ใกล้เขตวงโคจรของโลก และระยะไกล ดวงอาทิตย์ที่สุด อยู่เลยจากดาวยูเรนัสออกไป ดาวหางเทมเพล - ทัดเทิล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวดาวหางราว 1.9 กิโลเมตร จึงเป็นดาวหางดวงเล็ก ๆ ดวงหนึ่ง อันดับความสว่างประมาณ 9 ไม่สามารถ มองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า นอกจากจะอยู่ใน สภาพท้องฟ้าดีเยี่ยม แต่สามารถเห็นได้ หากใช้ กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก หรือใช้ กล้อง 2 ตา ขนาดใหญ่ส่องสังเกต 
เป็นที่รู้กันดีว่า ดาวหางเทมเพล - ทัดเทิล เป็นแหล่งกำเนิดของซากเศษฝุ่น ต้นกำเนิดของฝนดาวตก ลีโอนิดส์ ซึ่งปรากฎให้เห็นในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ในปีอื่น ๆ ฝนดาวตกลีโอนิดส์เบาบาง จำนวนราว 10 ดวง ต่อชั่วโมงเท่านั้น แต่ในปี พ.ศ.2541 ดาวหางโคจรเข้าใกล้ ดวงอาทิตย์ที่สุด จึงคาดหมายว่า น่าจะเกิดปรากฏการณ์ พายุฝนดาวตก ในปี 2541 แต่ไม่เป็นไปตามคาด จึงติดตามเฝ้าดูกันในปีต่อ ๆ มา อย่างไร ก็ตาม ในปี 2544 ก็ยังถือว่า เป็นฝนดาวตกที่น่าดูอยู่ หลังจากดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดแล้ว ขณะเดินทางห่างออกไป เส้นทางโคจรของดาวหางตัดผ่านเส้นทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เป็นมุม 17 องศา ซึ่งโลกเคลื่อนที่มาถึงจุดตัดดังกล่าว ในช่วงวันที่ 17-18-19 พฤศจิกายนของทุกปีช่วงเวลาสังเกตฝนดาวตกลีโอนิดส์ ปี 2544 มีการคาดคะเน ของนักดาราศาสตร์หลายคน ที่คำนวณว่าจะมีฝนดาวตก กลุ่มดาว สิงโตตกมาก-น้อย เท่าไร โดยบอกช่วงเวลา และจำนวนดาวตกเป็นค่า ZHR ( Zenith Hourly Rate ) คือ จำนวนดาวตก เมื่อกลุ่มดาวสิงโตอยู่เหนือศรีษะ ของผู้สังเกต Robert McNaught และ David Asher คาดคะเนว่า เวลา 00.24 น. ( 19 พ.ย. 2544 ) มีดาวตก 2,000 ครั้ง / ชั่วโมง เวลา 01.13 น. ( 19 พ.ย. 2544 ) มีดาวตก 8,000 ครั้ง / ชั่วโมงEsko Lyytinen และ Tom Van Flandem คาดคะเนว่า เวลา 01.06 น. ( 19 พ.ย. 2544 ) มีดาวตก 5,100 ครั้ง / ชั่วโมงPeter Jennisken ( จากสถาบัน SETI ) คาดคะเนว่า เวลา 00.55 น. ( 19 พ.ย. 2544 ) มีดาวตก 2,700 ครั้ง / ชั่วโมง( เวลาทั้งหมดนี้ คือเวลาของประเทศไทย )ดูฝนดาวตกที่ไหนดี? เราสามารถวางแผนดูฝนดาวตกครั้งนี้ ได้ทั่วประเทศตามสะดวก หาที่มืดสนิท ท้องฟ้า เปิดโล่ง ไม่มีต้นไม้หรือสิ่งก่อสร้างบดบังสายตา อาจเป็นอุทยาน บนยอดเขา หรือรีสอร์ทห่างไกล ชุมชน เสียงแต่ให้หนีจากแสงไฟ และมลภาวะ เรื่องหมอกควัน บริเวณที่สูงทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ น่าจะมีสภาพท้องฟ้า ปลอดโปร่งดี ท้องฟ้าในเขตกรุงเทพ ฯ ไม่เหมาะในการสังเกตฝนดาวตก เพราะแสงไฟ และหมอกควันบดบังแสงดาวต
กแหล่งข้อมูลฝนดาวตกเพิ่มเติม- http://www.darasart.com- http://thaiastro.nectec.or.th
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย :อาจารย์สิทธิชัย จันทรศิลปินอาจารย์กระจ่าง ธรรมวีระพงษ์ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย :อาจารย์สิทธิชัย จันทรศิลปินอาจารย์กระจ่าง ธรรมวีระพงษ์ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น