วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ฝนหลวง

สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้คำนิยามคำว่า “ฝนหลวง” ไว้ว่า "ฝนหลวง” เป็นเทคโนโลยีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์คิดค้น และพระราชทานให้เป็นเทคโนโลยีในการดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนจากเมฆอุ่น และเมฆเย็น ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่กระทำด้วยความตั้งใจของมนุษย์ซึ่งมีการวางแผนการปฏิบัติการหวังผลที่แน่นอน โดยการใช้สารเคมีที่ดูดซับความชื้นได้ดีทั้งในบรรยากาศหรือเมฆที่มีอุณหภูมิสูงกว่าและต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง เป็นตัวเร่งเร้าให้เกิดกระบวนการเกิดฝนเร็วขึ้น และปริมาณมากกว่าที่จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตั้งแต่ขั้นตอนการเกิดเมฆ การเจริญของเมฆ การเกิดฝน การยืดอายุฝนให้นานขึ้น มีฝนตกถี่ขึ้น เพิ่มปริมาณฝน ฝนตกกระจายสม่ำเสมอ และชักนำให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายที่กำหนดได้อย่างแม่นยำ แผ่เป็นบริเวณกว้างมากกว่าที่จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ”
ความเป็นมาของในหลวง เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ทรงพบเห็นความเดือดร้อนของประชาชนในถิ่นทุรกันดารอันเนื่องมาจากความผันแปรไม่แน่นอนของฝนในธรรมชาติทรงวิเคราะห์ว่า “เมื่อมีฝนก็มีมากเกินพอจนเกิดปัญหาน้ำท่วม เมื่อหมดในก็เกิดภัยแล้งตามมา นี้คือสาเหตุสำคัญของความยากจนของประชาชน” ยังทรงมีพระราชปรารภอีกว่า “เมื่อแหงนมองฟ้าเห็นมีเมฆมาก แต่ถูกลมพัดพาไปไม่ตกเป็นฝน ทำอย่างไรจึงจะบังคับให้เมฆตกเป็นฝนในพื้นที่แห้งแล้งที่ต้องการ” แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาความผันแปรไม่แน่นอนของฝนธรรมชาติในเวลานั้นทรงให้คงามสำคัญกับการจัดการทรัพยากรน้ำใน 2 วิธี คือ 1. สร้างเขื่อน (Check dam) และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กตามลาดเขา เพื่อชะลอการไหลบ่าของน้ำจากเขาไม่ให้เข้าท่วมพื้นที่ทำกินของประชาชน ในขณะเดียวกันเขื่อนและอ่างเก็บกักน้ำสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ 2. วิธีการทำฝนเทียม (Rainmaking) เพื่อบังคับเมฆให้ตกเป็นฝนในพื้นที่ที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้จึงมีพระราชดำริให้คิดค้นวิธีการทำฝนเทียมขึ้น โดยมี ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้รับสนองพระราชดำริในครั้งนั้น ในปี พ.ศ. 2512 ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ได้ทดลองทำฝนเทียมเป็นครั้งแรก และต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ได้เริ่มทำฝนเทียมช่อยเหลือเกษตรกร ควบคู่ไปกับการวิจัยและพัฒนากรรมวิธีทำฝน โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกาาติดตามและพระราชทานคำแนะนำอย่างใกล้ชิด ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้น อยู่ภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้มีพระราชกฤษฎีการวมกองบินเกษตรและสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงจัดตั้งเป็นสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” เพื่อเชิดชูพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงเป็นองค์ริเริ่มการทำฝนเทียม ปัจจุบันสำนักฝนหลวงและการบินเกษตรมีศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาคต่าง ๆ 9 ศูนย์ โดยมีฐานปฏิบัติการ ณ สนามบินในจังหวัดต่าง คือ สนามบินนาชาติจังหวัดเชียงใหม่ สนามบินกองบิน 46 จังหวัดพิษณุโลก สนามบินจังหวัดขอนแก่น สนามบินกองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา สนามบินกองบิน 2 จังหวัดลพบุรี (หรือ สนามบินจังหวีดนครสวรรค์) สนามบินอู่ตะเภา จังหวัดระยอง (หรือ สนามบินท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี) สนามบินจังหวัดกาญจนบุรี ท่าอากาศยานหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สนามบินจังหวัดสุราษฎร์ธานี (หรือ สนามบินจังหวัดสงขลา)
พระบรมราโชบาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสว่า “การทำฝนหลวง ไม่ใช่รอให้เกิดภัยแล้งขึ้นแล้วจึงส่งคณะไปช่วยเหลือ การทำฝนหลวงอย่างมีประสิทธิภาพต้องทำในลักษณะของการจัดการทรัพยากรน้ำในรอบปี เมื่อมีโอกาสที่จะทำได้ให้เร่งสร้างความชุ่มชื้นให้พื้นดิน พื้นที่เกษตร และป่าไม้และเติมน้ำกักเก็บไว้ในเขื่อนเพื่อสำรองไว้ใช้ยามแล้ง” นอกจากนี้ยังทรงมีพระบรมโชบายเกี่ยวกับฝนหลวงในด้านต่าง ๆ คือ 1) ด้านบริหารจัดการ - ให้พัฒนาอย่างเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ - ให้เป็นองค์ประกอบของการจัดการทรัพยากรน้ำ - เป้าหมายอยู่ที่ประชาชนมีน้ำใช้พอเพียงตลอดปี - กำหนดพื้นที่เป้าหมายการช่วยเหลือเป็นลุ่มน้ำ - ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต้องเข้าใจการทำฝน - ต้องเข้าถึงและทำความเข้าใจกับประชาชน - ต้องเตรียมพร้อมด้านปัจจัย และเคลื่อนที่ได้เร็ว 2) ด้านปฏิบัติการ - ต้องศึกษาตำราฝนหลวงให้เข้าใจและถ่ายทอดกัน - นักบิน นักวิชาการ หน่วยงาน ต้องร่วมมือกัน - ต้นฤดูกาล ความชื้น 60% ก็ทำฝนได้ - ถ้าภัยแล้งกว้างขวางเอาฝนลงที่ไหนได้ก็เอาลง - ต้องศึกษาสภาพอากาศ วางแผน และติดตามผล - ต้องให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ผลประจำวัน - ทำฝนต้องบินเข้าเมฆได้ และบินสำรวจฝน - ต้องทุ่มเท เสี่ยงบ้าง และประสานงานกันให้เข้าใจ 3) ด้านการวิจัย - งานค้นคว้าวิจัย ต้องทำต่อเนื่อง ไม่มีสิ้นสุด - ไม่ย่อท้อต่อคำพิพากษ์วิจารณ์ - ต้องรวบรวมเสนอรายงานปรับปรุงตำราทำฝน - ให้ศึกษาผลกระทบเพื่อยืนยันว่าฝนหลวงไม่มีพิษ - ควรศึกษาและขยายผลในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น - ลดหรือป้องกันการเกิดพายุลูกเห็บ - การลดมลภาวะทางน้ำและผลักดันน้ำเค็ม - การดับไฟป่า
ตำราฝนหลวง ในปี 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชบายให้สำนักฝนหลวงฯนำไปพิจารณาดำเนินการโดยให้ถือว่า “ฝนหลวง” เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ เป้าหมายหลักอยู่ที่การช่วยเหลือประชาชนให้มีน้ำใช้อย่างทั่วถึงและไม่ขาดแคลนทั้งนี้ให้กำหนดพื้นที่เป้าหมายการช่วยเหลือเป็นลุ่มน้ำ ซึ่งในฤดูแล้งต้องสร้างความชุ่มชื้นให้พื้นที่เกษตรและป่าไม้ ฤดูฝนต้องเติมน้ำในเขื่อนให้มีน้ำไม่ต่ำกว่า 80% พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประดิษฐ์ภาพด้วยคอมพิวเตอร์ แสดงขั้นตอนและกรรมวิธีวิธีดัดแปลงสภาพอากาศให้เกิดฝน จากเมฆอุ่นและเมฆเย็น ประมวลความรู้และขั้นตอนการปฏิบัติไว้อย่างสมบูรณ์ ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ซึ่งได้ทรงพระราชทานตำรานี้แก่นักวิชาการฝนหลวงเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2542 ให้ถือปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งในตำราฝนหลวงพระราชทานนั้น ทรงแบ่งเป็นช่องตารางสี่เหลี่ยม ถ้าเป็นตามแนวนอนเรียกว่า “แถว” มีทั้งหมด 8 แถว ตามแนวตั้งเรียกว่า “ช่อง” มีทั้งหมด 4 ช่อง โดย แถวบนสุด ช่องที่ 1 เป็นภาพนางมณีเมขลา เป็นภาพที่ใหญ่ที่สุด โดยทรงระบุให้นางมณีเมขลาเป็นสัญลักษณ์ของโครงการและเป็นหัวหน้าสำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งเขาไกลลาศ หรือเขาพระสุเมรุวิเทศะ สันนิษฐานว่าอยู่ในทะเล ถัดมาทางขวา ช่องที่ 2 เป็นรูปพระอินทร์ทรงเกวียน โดยทรงอธิบายว่าพระอินทร์เป็นสักกะเทวราช เป็นราชาของเทวดาที่ทรงมาช่วยทำฝน ช่องที่ 3 ถัดจากพระอินทร์ทรงเกวียนทรงเขียนว่า “21 มกราคม 2542” และทรงอธิบายว่า เป็นวันที่ทรงประทับบนเครื่องบินพระที่นั่งเสด็จฯ ไปประกอบพระราชกรณียกิจที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินกลับทรงสังเกตเห็นกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างที่น่าจะทำฝนได้ทรงบันทึกภาพเมฆเหล่านั้นพระราชทานลงมาและมีพระราชกระแสรับสั่งให้ส่งคณะปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษออกไปปฏิบัติการกู้ภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และภาคเหนือตอนล่างโดยเร่งด่วน ช่องที่ 4 ในแถวบนสุดนี้ เป็นภาพเครื่องบิน 3 เครื่อง ทรงระบุว่า เป็นตัวอย่างของเครื่องบินที่เหมาะสมกับการปฏิบัติการตามตำราฝนหลวงพระราชทานประกอบด้วย เครื่องบินเมฆเย็น (Super King Air) เครื่องบินเมฆอุ่น (Casa) และเครื่องบินเมฆอุ่น (Caravan)
แถวที่ 1 ช่องที่ 2 – 4 เป็นภาพขั้นตอนที่ 1 ของการทำฝนหลวง ซึ่งทรงเรียกขั้นตอนนี้ว่า "ก่อกวน” โดยทรงอธิบายว่าเป็นการเร่งให้เกิดเมฆ โดยใช้เครื่องบินเมฆอุ่น 1 เครื่องโปรยสารเคมีผงเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl2) ที่ระดับความสูง 7,000 ฟุต ในขณะที่ท้องฟ้าโปร่ง หรือเมฆเดิมก่อตัวอยู่บ้าง ความชื้นสัมพัทธ์ไม่น้อยกว่า 60% ให้เป็นแกนกลั่นตัว (Cloud Condensation Nuclei หรือเรียกว่า CCN) ความชื้นหรือไอน้ำจะถูกดูดซับเข้าไปเกาะรอบแกนเกลือแล้วรวมตัวกันเกิดเป็นเมฆ ซึ่งเมฆเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นเป็นเมฆก้อนใหญ่ อาจก่อยอดถึงระดับ 10,000 ฟุต แถวที่ 2 ช่องที่ 1 – 4 เป็นภาพขั้นตอนที่ทรงเรียกว่า “เลี้ยงให้อ้วน” เป็นขั้นตอนที่เร่งการเจริญเติบโตของเมฆที่ก่อขึ้นหรือเมฆเดิมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และก่อยอดขึ้นถึงระดับ 10,000 ฟุต ฐานเมฆสูงไม่เกิน 7,000 ฟุต ใช้เครื่องบินแบบเมฆอุ่นอีกเครื่องหนึ่งโปรยผลแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) เข้าไปในกลุ่มเมฆที่ระดับ 8,000 ฟุต หรือสูงกว่าฐานเมฆ 1,000 ฟุต ทำให้เกิดความร้อนอันเนื่องมาจากการคายความร้อนแฝง จากการกลั่นตัวรอบแกนกลั่นตัว (CCN) รวมกับความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาของไอน้ำกับสารแคลเซียมคลอไรด์โดยตรงและพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ตามธรรมชาติ จะเร่งหรือเสริมแรงยกตัวของมวลอากาศภายในเมฆยกตัวขึ้น และเร่งกิจกรรมการกลั่นตัวของไอน้ำและการรวมตัวกันของเม็ดน้ำภายในเมฆทวีความหนาแน่นจนขนาดของเมฆใหญ่ก่อยอดขึ้นถึงระดับ 15,000 ฟุต ได้เร็วกว่าที่จะปล่อยให้เจริญขึ้นเองตามธรรมชาติซึ่งยังเป้นส่วนของเมฆอุ่น จนถึงระดับนี้การยกตัวขึ้นลงของมวลอากาศ การกลั่น และการรวมตัวของเม็ดน้ำ ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องแบบปฏิกิริยาลูกโซ่ แต่บางครั้งอาจมีแรงยกตัวเหลือพอที่ยอดเมฆพัฒนาขึ้นถึงระดับ 20,000 ฟุต ซึ่งเป็นระดับเมฆเย็นที่เริ่มตั้งแต่ระดับประมาณ 18,000 ฟุตขึ้นไป (อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส) แถวที่ 3 ช่องที่ 1 – 3 เป็นภาพขั้นตอนที่เรียกว่า "โจมตี” เป็นขั้นตอนที่เร่ง หรือบังคับให้เกิดฝน เมื่อเมฆอุ่นเจริญเติบโตขึ้นจนเริ่มแก่ตัวจัด ฐานเมฆลดระดับต่ำลงประมาณ 1,000 ฟุต และเคลื่อนตัวใกล้เข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย ทำการบังคับให้ฝนตกโดยใช้เทคนิคการโจมตีแบบแซนด์วิช ด้วยการใช้เครื่องบินเมฆอุ่น 2 เครื่อง เครื่องหนึ่งโปรยผงโซเดียมคลอไรด์ทับยอดเมฆหรือไหล่เมฆที่ระดับ 9,000 ฟุต หรือไม่เกิน 10,000 ฟุตด้านเหนือลม อีกเครื่องหนึ่งโปรยผลยูเรียที่ระดับฐานเมฆด้านใต้ลม ให้แนวโปรยทั้งสองทำมุม 45 องศา เมฆจะทวีความหนาแน่นของเม็ดน้ำขนาดใหญ่ และปริมาณมากขึ้นตกลงสู่ฐานเมฆ ทำให้ฐานเมฆหนาแน่นจนใกล้ตกเป็นฝน หรือเริ่มตกเป็นฝน แต่ยังไม่ถึงพื้นดินหรือตกถึงพื้นดินแต่ปริมาณยังบางเบา แถวที่ 4 ช่องที่ 1 – 3 ยังอยู่ในขั้นตอนของการโจมตีเป็นขั้นที่เสริมการโจมตีเพื่อเพิ่มปริมาณฝนให้สูงขึ้น เมื่อกลุ่มเมฆฝนตามขั้นตอนที่ 3 ยังไม่เคยเคลื่อนตัวเข้าสู่เป้าหมาย ทำการเสริมการโจมตีเมฆอุ่นด้วยสารเคมีสูตรเย็นจัดคือ น้ำแข็งแห้ง (Dry ice) ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำระดับ -78 องศาเซลเซียสที่ได้ฐานเมฆ 1,000 ฟุต จะทำให้อุณหภูมิของมวลอากาศใต้ฐานเมฆลดต่ำลง และความชื้นสัมพัทธ์สูงขึ้น และจะยิ่งทำฐานเมฆยิ่งลดระดับต่ำลง ปริมาณฝนตกหนาแน่นยิ่งขึ้น และชักนำให้กลุ่มฝนเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่เป้าหมายหวังผลได้แน่นอนและเร็วยิ่งขึ้น หากกลุ่มเมฆฝนปกคลุมภูเขาก็จะเป็นวิธีการชักนำให้กลุ่มฝนพ้นจากบริเวณภูเขาเข้าสู่พื้นที่ราบ (บางตำราของสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร เรียกขั้นตอนนี้ว่า “เพิ่มฝน” และเป็นขั้นตอนต่อจากการโจมตีแบบแซนด์วิช โจมตีเมฆเย็นแบบธรรมดา และโจมตีเมฆเย็นแบบซูเปอร์แซนด์วิช ทั้ง 3 วิธีแล้ว) แถวที่ 5 ช่องที่ 1 – 3 ยังอยู่ในขั้นตอนของการโจมตีเช่นเดียวกัน เป็นการโจมตีเมฆเย็นด้วยซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Agl) ขณะที่เมฆพัฒนายอดสูงขึ้นในขั้นที่ 2 ถึงระดับเมฆเย็น และมีเครื่องบินเย็นเพียงเครื่องเดียวทำการโจมตีเมฆเย็นโดยการยิงพลุสารซิลเวอร์ไอโอไดด์ที่ระดับความสูงประมาณ 21,500 ฟุต ซึ่งมีอุณหภูมิระดับ -8 ถึง -12 องศาเซลเซียส มีกระแสมวลอากาศลอยขึ้นกว่า 1,000 ฟุตต่อนาที และมีปริมาณน้ำเย็นจัดไม่ต่ำกว่า 1 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นเงื่อนไขเหมาะสมที่จะทำให้ไอน้ำระเหยจากเม็ดน้ำเย็นยิ่งยวด (Super cooled vapour) มาเกาะตัวรอบแกนซิลเวอร์ไอโอไดด์ กลายเป็นผลึกน้ำแข็งไอน้ำที่แปรสภาพเป็นผลึกน้ำแข็งจะทวีขนาดใหญ่ขึ้นจนร่วงหล่นลงมาและละลายเป็นเม็ดน้ำเมื่อเข้าสู่ระดับเมฆอุ่นและจะทำให้ไอน้ำและเม็ดน้ำในเมฆอุ่นเข้ามาเกาะรวมตัวกันเป็นเม็ดใหญ่ขึ้น ทะลุฐานเมฆเป็นฝนตกลงสู่พื้นดิน แถวที่ 6 ช่องที่ 1 – 3 เป็นขั้นตอนการโจมตีอีกขั้นตอนหนึ่งที่ทรงเรียกว่า "ซูเปอร์แซนด์วิช” การโจมตีแบบซูเปอร์แซนด์วิช จะทำได้ต่อเมื่อมีเครื่องบินปฏิบัติการทั้งเมฆอุ่นและเมฆเย็นสามารถใช้ปฏิบัติการได้ครบ ขณะที่ทำการโจมตีเมฆอุ่นตามขั้นตอนที่ 3 และ 4 ทำการโจมตีเมฆเย็นตามขั้นตอนที่ 5 ควบคู่ไปในขณะเดียวกัน เครื่องบินเมฆอุ่นอีกเครื่องหนึ่งโปรยผงโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับไหล่เมฆ จะทำให้ฝนตกหนักและต่อเนื่องนานให้ปริมาณน้ำฝนสูงยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการประสานประสิทธิภาพของการโจมตีเมฆอุ่นในขั้นตอนที่ 3 และ 4 และโจมตีเมฆเย็นในขึ้นตอนที่ 5 ควบคู่ไปในระดับเดียวกัน จึงเรียกว่า “ซูเปอร์แซนวิช” ซึ่งยังไม่เคยมีใครในโลกเคยทำมาก่อน แถวสุดท้าย ของตำราฝนหลวงพระราชทาน ช่องที่ 1 เป็นภาพคน 2 คนหามแมวซึ่งนอนอยู่ในกรง และทรงเขียนใต้ภาพว่า “แห่ Cat" ทรงอธิบายว่า คือแห่นางแมว เป็นการรวมผลหรือประชาสัมพันธ์เพื่อบำรุงขวัญ เป็นพิธีกรรมขอฝนที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล เป็นพิธีกรรมด้านจิตวิทยาเมื่อฝนแล้ง เกิดความเดือดร้อน ปั่นป่วน วุ่นวาย จึงต้องมีจิตวิทยาบำรุงขวัญให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่มีกำลังใจ ช่องที่ 2 เป็นรูปเครื่องบิน ทรงอธิบายว่า เป็นเครื่องบินทำฝน เครื่องบินต้องกล้าบินเข้าเมฆฝนเพื่อสำรวจและติดตามผล นักบินและนักวิชาการฝนหลวงต้องร่วมมือกัน ช่องที่ 3 เป็นรูปกบ และข้อความว่า "เลือกนาย หรือขอฝน” ทรงอธิบายว่ากบจะต้องร้องแทนอุตุนิยม ถ้าไม่มีความชื้นกบเดือดร้อนและกบจะเตือนให้มีความพยายาม มิฉะนั้นกบตาย ไม่มีฝนเกษตรกรตาย ท่านต้องจูบกบหลายตัวก่อนที่จะพบเจ้าชายเพียงหนึ่งองค์ ต้องมีความพยายามทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้เกิดฝนได้สักครั้ง ช่องที่ 4 เป็นรูปบ้องไฟ ทรงอธิบายว่า บ้องไฟแทนเครื่องบิน ซึ่งเป็นพาหนะนำเทคโนโลยีฝนหลวงขึ้นไปประยุกต์ในท้องฟ้า เป็นประเพณีเรียกฝน ไม่ใช่ของเล่นแต่เป็นของจริงทำฝนด้วยการยิงบ้องไฟ บ้องไฟขึ้นสูงปล่อยควันเป็นแกนความชื้นเข้ามาเกาะแกนควัน ทำให้เกดเมฆ เกิดฝน บ้องไฟจึงเป็นพิธีการอย่างหนึ่ง เป็นวิทยาศาสตร์ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงได้ปฏิบัติตามตำราฝนหลวงที่ได้พระราชทานไว้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2542 จนถึงปัจจุบัน
สิทธิบัตรฝนหลวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ฝนหลวง เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2545 และกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ถวายสิทธิบัตรเลขที่ 13898 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2545 โดยรัฐบาลได้ทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรดังกล่าวต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2546 ต่อมาสำนักสิทธิบัตรยุโรปได้ออกสิทธิบัตรเลขที่ 1491088 เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2548 ทูลเกล้าฯ ถวายแดต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภายใต้ชื่อว่า "Weather Modification by Royal Rainmaking Technology” หรือ “สิทธิบัตรฝนหลวง” ที่ได้ทรงจดทะเบียนในพระปรมาภิไธย สิทธิบัตรดังกล่าวครอบคลุมและขยายผลคุ้มครอง 30 ประเทศในยุโรป รวมทั้ง ฮ่องกง ทั้งนี้กำลังจะดำเนินการขอจดสิทธิบัตรในประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาและทรงห่วงใยพสกนิกรที่ประกอบอาชีพการเกษตรต้องประสบความเดือดร้อนจากภัยแล้งที่เกิดขึ้นซ้ำซากทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย ขาดแคลนทั้งอาหาร และรายได้ที่จะเลี้ยงครอบครัวการพระราชทานน้ำฝนมาให้มิใช่ประโยชน์เฉพาะเกษตรกรที่จะทำให้สามารถเพาะปลูกได้เท่านั้นแต่ยังหมายถึงความอุดมสมบูรณ์แห่งผืนดินไทยทั้งมวลที่ประชาชนไทยทั่วไปจะได้รับอานิสงส์จากฝนหลวงพระราชทานนั้นด้วย
------------------------------------
กองบรรณาธิการผู้เขียน
กสิกร ปีที่ 79 ฉบับที่ 5 กันยายน – ตุลาคม 2549

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

สวัสดีคุณในตราสารหนี้และคุณอยู่ในความยากลำบากทางการเงินหรือไม่ มีเพียงหนึ่งใน บริษัท ที่คุณสามารถไว้วางใจที่ฉันเงินสดเงินกู้ของฉัน 500,000,00 เมื่อวานนี้และวันนี้ผมได้มาให้การเป็นพยานเพื่อพระเกียรติของพระเจ้าเพราะผมมีไปผ่านความยากลำบากมากที่ฉันถูกหลอกลวงประมาณ 3,000 แต่ตอนนี้ที่ผมได้เห็น ที่เชื่อถือได้และการทดสอบตอนนี้ฉันสามารถแนะนำให้คุณส่งอีเมลนางสเตลล่า Rene วันนี้เกี่ยวกับอีเมลของเธอด้านล่าง {mrsstellareneloanfirm@hotmail.com} และวันนี้เรื่องราวของฉันมีการเปลี่ยนแปลงจากเรื่องไปสู่ความรุ่งโรจน์ที่จะได้รับเงินกู้ของคุณรูปแบบในวันนี้ บริษัท นี้และส่วนที่เหลือมั่นใจ 100% คุณมี พบว่าตัวเองออกมาจากเงื่อนไขที่คุณได้รับเป็นเวลาหลายปีโอเค

ลิเดีย