นักดาราศาสตร์ศึกษาถึงที่มาของฝนดาวตก หรือฝนอุกกาบาต พบว่าอุกกาบาต เหล่านี้ ต่างโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ ในเส้นทางเดียวกับดาวหาง บางดวง และได้ข้อสรุป ชัดเจนว่า ฝนดาวตกมีความสัมพันธ์ กับดาวหาง
ดาวหางเป็นวัตถุท้องฟ้าอย่างหนึ่ง คล้ายก้อนน้ำแข็งสกปรกของหินและฝุ่น เกาะกันอยู่ ด้วยก๊าซและน้ำที่แข็งตัว เมื่อดาวหางเคลื่อนเข้าใกล้ ดวงอาทิตย์มากขึ้น ความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้ น้ำแข็งรอบนอกระเหิดออก ปล่อยซากเศษชิ้นส่วนเล็ก ๆ กระจายเป็นธารอุกกาบาตเคลื่อนที่ ไปตามเส้นทางโคจรของดาวหาง เมื่อโลกเคลื่อนที่ ผ่านธารอุกกาบาตเหล่านี้ จึงดูดเศษหินและเศษโลหะเหล่านั้น ให้วิ่งเข้ามาในเขต บรรยากาศโลก ด้วยความเร็วสูง ความร้อนจากการเสียดสีกับบรรยากาศ เกิดเป็นลูกไฟ สว่าง เรียกว่า ฝนดาวตก
ทุกวันนี้ เรารู้จักฝนดาวตกชุดที่มีปริมาณดาวตกหนาแน่น น่าสนใจมากกว่า 10 ชุด ซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นประจำ เกือบทุกเดือนในรอบปี นอกจากนั้นยังมีฝนดาวตก ชุดที่เบาบาง ไม่น่าสนใจอีกหลายชุด
ฝนดาวตกเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่แน่นอน บางปีเราอาจเห็นฝนดาวตกชุดหนึ่ง มีจำนวนดาวตก มากมายเห็นได้ชัดเจน แต่อาจเบาบางในอีกปีหนึ่ง เพราะสาเหตุหลาย อย่าง แต่ที่สำคัญคือ โลกเคลื่อนที่ ตัดกับวงทางโคจรของดาวหาง เป็นระยะใกล้ไกล มากเพียงใดในปีนั้น และเพราะซากเศษดาวหาง หลุดออกมาเป็นกลุ่ม ๆ ถ้ามีจำนวนมาก แล้วโลก เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มซากอุกกาบาตนั้นในปีใด ก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตก หนาแน่นมากเป็นพิเศษ เรียกว่าพายุฝนดาวตก
ดาวหางเทมเพล - ทัดเทิล กับฝนดาวตกลีโอนิดส์
ดาวหางเทมเพล - ทัดเทิล กับฝนดาวตกลีโอนิดส์
ดาวหางเทมเพล - ทัดเทิล ค้นพบโดย วิลเฮล์ม เทมเพล และฮอแรส ทัดเทิล ในปี พ.ศ.2408 เป็นดาวหางคาบ สั้น โคจรรอบดวงอาทิตย์ในคาบ 33.2 ปี วงโคจรรูปวงรี ระยะใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด อยู่ใกล้เขตวงโคจรของโลก และระยะไกล ดวงอาทิตย์ที่สุด อยู่เลยจากดาวยูเรนัสออกไป ดาวหางเทมเพล - ทัดเทิล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวดาวหางราว 1.9 กิโลเมตร จึงเป็นดาวหางดวงเล็ก ๆ ดวงหนึ่ง อันดับความสว่างประมาณ 9 ไม่สามารถ มองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า นอกจากจะอยู่ใน สภาพท้องฟ้าดีเยี่ยม แต่สามารถเห็นได้ หากใช้ กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก หรือใช้ กล้อง 2 ตา ขนาดใหญ่ส่องสังเกต
เป็นที่รู้กันดีว่า ดาวหางเทมเพล - ทัดเทิล เป็นแหล่งกำเนิดของซากเศษฝุ่น ต้นกำเนิดของฝนดาวตก ลีโอนิดส์ ซึ่งปรากฎให้เห็นในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ในปีอื่น ๆ ฝนดาวตกลีโอนิดส์เบาบาง จำนวนราว 10 ดวง ต่อชั่วโมงเท่านั้น แต่ในปี พ.ศ.2541 ดาวหางโคจรเข้าใกล้ ดวงอาทิตย์ที่สุด จึงคาดหมายว่า น่าจะเกิดปรากฏการณ์ พายุฝนดาวตก ในปี 2541 แต่ไม่เป็นไปตามคาด จึงติดตามเฝ้าดูกันในปีต่อ ๆ มา อย่างไร ก็ตาม ในปี 2544 ก็ยังถือว่า เป็นฝนดาวตกที่น่าดูอยู่ หลังจากดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดแล้ว ขณะเดินทางห่างออกไป เส้นทางโคจรของดาวหางตัดผ่านเส้นทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เป็นมุม 17 องศา ซึ่งโลกเคลื่อนที่มาถึงจุดตัดดังกล่าว ในช่วงวันที่ 17-18-19 พฤศจิกายนของทุกปีช่วงเวลาสังเกตฝนดาวตกลีโอนิดส์ ปี 2544 มีการคาดคะเน ของนักดาราศาสตร์หลายคน ที่คำนวณว่าจะมีฝนดาวตก กลุ่มดาว สิงโตตกมาก-น้อย เท่าไร โดยบอกช่วงเวลา และจำนวนดาวตกเป็นค่า ZHR ( Zenith Hourly Rate ) คือ จำนวนดาวตก เมื่อกลุ่มดาวสิงโตอยู่เหนือศรีษะ ของผู้สังเกต Robert McNaught และ David Asher คาดคะเนว่า เวลา 00.24 น. ( 19 พ.ย. 2544 ) มีดาวตก 2,000 ครั้ง / ชั่วโมง เวลา 01.13 น. ( 19 พ.ย. 2544 ) มีดาวตก 8,000 ครั้ง / ชั่วโมงEsko Lyytinen และ Tom Van Flandem คาดคะเนว่า เวลา 01.06 น. ( 19 พ.ย. 2544 ) มีดาวตก 5,100 ครั้ง / ชั่วโมงPeter Jennisken ( จากสถาบัน SETI ) คาดคะเนว่า เวลา 00.55 น. ( 19 พ.ย. 2544 ) มีดาวตก 2,700 ครั้ง / ชั่วโมง( เวลาทั้งหมดนี้ คือเวลาของประเทศไทย )ดูฝนดาวตกที่ไหนดี? เราสามารถวางแผนดูฝนดาวตกครั้งนี้ ได้ทั่วประเทศตามสะดวก หาที่มืดสนิท ท้องฟ้า เปิดโล่ง ไม่มีต้นไม้หรือสิ่งก่อสร้างบดบังสายตา อาจเป็นอุทยาน บนยอดเขา หรือรีสอร์ทห่างไกล ชุมชน เสียงแต่ให้หนีจากแสงไฟ และมลภาวะ เรื่องหมอกควัน บริเวณที่สูงทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ น่าจะมีสภาพท้องฟ้า ปลอดโปร่งดี ท้องฟ้าในเขตกรุงเทพ ฯ ไม่เหมาะในการสังเกตฝนดาวตก เพราะแสงไฟ และหมอกควันบดบังแสงดาวต
กแหล่งข้อมูลฝนดาวตกเพิ่มเติม- http://www.darasart.com- http://thaiastro.nectec.or.th
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย :อาจารย์สิทธิชัย จันทรศิลปินอาจารย์กระจ่าง ธรรมวีระพงษ์ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย :อาจารย์สิทธิชัย จันทรศิลปินอาจารย์กระจ่าง ธรรมวีระพงษ์ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น